สื่อและแหล่งการเรียนรู้
ประวัติของสื่อ
การเริ่มต้นยุคของสื่อกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปี มาแล้ว เมื่อมีการสร้างแท่นพิมพ์หล่อตัวพิมพ์มีการประดิษฐ์สื่อประเภทที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น หนังสือเล่มแรก คือ The Gutenberg Bible พิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1546 การตีพิมพ์ข่าวสารเริ่มในปี ค.ศ. 1621 และในเวลาต่อมาเทคโนโลยีการพิมพ์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างมากใน ค.ศ. 1814 มีการใช้การพิมพ์โดยพลังไอน้ำ
ในช่วง ค.ศ. 1850-1950 ได้มีการพัฒนาด้านต่าง ๆ มาก เช่น กระบวนการถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลข แผ่นเสียง รถยนต์ ภาพยนตร์ และอื่น ๆ ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ความเจริญรุดหน้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน การสื่อสารโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ในสหรัฐอเมริกามีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการนำสื่อมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา (1958) ใช้เป็นวัสดุและอุปกรณ์ประกอบการสอนตลอดจนการส่งเสริมการวิจัย และทดลองการออกแบบสื่อการศึกษาประเภทต่าง ๆ
สื่อการศึกษา (Educational Media)
สื่อการศึกษา หมายถึง วัสดุที่เสนอเนื้อหาสาระความรู้แก่ผู้รับ ช่วยอำนวยความสะดวกในการให้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อ อาจเป็นสื่อที่ให้สารสนเทศในตัวเอง หรือ อาจเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ในการนำเสนอ การเรียนการสอนในชั้นเรียน การบริการสารสนเทศในห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เทคนิค วิธีการ ให้ทันกับความก้าวหน้าและวิทยาการของโลก
ผู้สอน จำเป็นต้องใช้สื่อการศึกษา / สื่อการสอนเข้ามาช่วย
ผู้เรียน อาศัยสื่อเพื่อการเรียนรู้ ค้นคว้าตัวตนเองได้ เป็นเครื่องเสริมให้สามารถรับรู้ได้ทัดเทียมกับผู้อื่น เพิ่มทักษะการศึกษา และสามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างของผู้สอนและผู้เรียน
สื่อหรือวัสดุสื่อ จำแนกได้เป็น
สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) หรือสื่อพิมพ์
สื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (Nonprinted Media) หรือสื่อไม่พิมพ์ แบ่งได้กว้าง ๆ คือ
สื่อโสตทัศน์ (Audio-Visual Media) หมายถึงสื่อที่ให้สารวนเทศด้วยการฟัง และการมองเห็น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) หมายถึงสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์
ประวัติของสื่อ
การเริ่มต้นยุคของสื่อกล่าวได้ว่าเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 500 ปี มาแล้ว เมื่อมีการสร้างแท่นพิมพ์หล่อตัวพิมพ์มีการประดิษฐ์สื่อประเภทที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น หนังสือเล่มแรก คือ The Gutenberg Bible พิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1546 การตีพิมพ์ข่าวสารเริ่มในปี ค.ศ. 1621 และในเวลาต่อมาเทคโนโลยีการพิมพ์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างมากใน ค.ศ. 1814 มีการใช้การพิมพ์โดยพลังไอน้ำ
ในช่วง ค.ศ. 1850-1950 ได้มีการพัฒนาด้านต่าง ๆ มาก เช่น กระบวนการถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลข แผ่นเสียง รถยนต์ ภาพยนตร์ และอื่น ๆ ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ความเจริญรุดหน้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน การสื่อสารโทรคมนาคมและวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ในสหรัฐอเมริกามีการออกกฎหมายเกี่ยวกับการนำสื่อมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา (1958) ใช้เป็นวัสดุและอุปกรณ์ประกอบการสอนตลอดจนการส่งเสริมการวิจัย และทดลองการออกแบบสื่อการศึกษาประเภทต่าง ๆ
สื่อการศึกษา (Educational Media)
สื่อการศึกษา หมายถึง วัสดุที่เสนอเนื้อหาสาระความรู้แก่ผู้รับ ช่วยอำนวยความสะดวกในการให้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ สื่อ อาจเป็นสื่อที่ให้สารสนเทศในตัวเอง หรือ อาจเป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ในการนำเสนอ การเรียนการสอนในชั้นเรียน การบริการสารสนเทศในห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เทคนิค วิธีการ ให้ทันกับความก้าวหน้าและวิทยาการของโลก
ผู้สอน จำเป็นต้องใช้สื่อการศึกษา / สื่อการสอนเข้ามาช่วย
ผู้เรียน อาศัยสื่อเพื่อการเรียนรู้ ค้นคว้าตัวตนเองได้ เป็นเครื่องเสริมให้สามารถรับรู้ได้ทัดเทียมกับผู้อื่น เพิ่มทักษะการศึกษา และสามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่างของผู้สอนและผู้เรียน
สื่อหรือวัสดุสื่อ จำแนกได้เป็น
สื่อสิ่งพิมพ์ (Printed Media) หรือสื่อพิมพ์
สื่อที่ไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (Nonprinted Media) หรือสื่อไม่พิมพ์ แบ่งได้กว้าง ๆ คือ
สื่อโสตทัศน์ (Audio-Visual Media) หมายถึงสื่อที่ให้สารวนเทศด้วยการฟัง และการมองเห็น
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) หมายถึงสื่อที่ต้องใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์
สื่อการเรียนการสอน
ในการเล่าเรียน เมื่อผู้สอนนำสื่อมาใช้ประกอบการสอนเรียกว่า “สื่อสอนการสอน” และเมื่อนำมาให้ผู้เรียนใช้เรียกว่า “สื่อการเรียน” โดยเรียกรวมกันว่า “สื่อการเรียนการสอน” หรืออาจจะเรียกสั้นๆ ว่า “สื่อการสอน” หมายถึงสิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นเทปบันทึกเสียง สไลด์ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ แผนภูมิ รูปภาพ ฯลฯ ซึ่งเป็นวัสดุบรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน หรือเป็นอุปกรณ์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาสิ่งเหล่านี้เป็นวัสดุอุปกรณ์ทางกายภาพที่นำมาใช้เทคโนโลยีการศึกษาเป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางทำให้การสอนส่งไปถึงผู้เรียน สื่อการสอนถือว่ามีบทบาทมากในการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ตรงกับที่ผู้สอนต้องการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อการเรียนการสอน
สื่อโสตทัศน์
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น หนังสือตำราเรียน ภาพ ของจริง ของจำลอง จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง ต่อมามีการใช้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการถ่ายทอดเนื้อหาและเนื้อหาและวัสดุที่ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้ โรเบิร์ต อี. เดอ คีฟเฟอร์ (Robert E. de Kieffer) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่ใช้สื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่า “สื่อโสตทัศน์” (audiovisual materials ในปัจจุบันมีสื่อโสตเพิ่มขึ้นมากจากที่เดอ คีฟเฟอร์ ได้กล่าวไว้ทั้ง 3 ประเภท ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected materials) เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้อง ใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่สื่อภาพ (illustrative materials) เป็นสื่อ ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา เช่น ภาพกราฟิก กราฟ แผนที่ ของจริง ของจำลอง กระดานสาธิต (demonstration boards) ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เช่นกระดานชอล์ก กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าสำลี ฯลฯ และกิจกรรม(activites)
สื่อโสตทัศน์
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น หนังสือตำราเรียน ภาพ ของจริง ของจำลอง จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง ต่อมามีการใช้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการถ่ายทอดเนื้อหาและเนื้อหาและวัสดุที่ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้ โรเบิร์ต อี. เดอ คีฟเฟอร์ (Robert E. de Kieffer) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่ใช้สื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่า “สื่อโสตทัศน์” (audiovisual materials ในปัจจุบันมีสื่อโสตเพิ่มขึ้นมากจากที่เดอ คีฟเฟอร์ ได้กล่าวไว้ทั้ง 3 ประเภท ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected materials) เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้อง ใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่สื่อภาพ (illustrative materials) เป็นสื่อ ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา เช่น ภาพกราฟิก กราฟ แผนที่ ของจริง ของจำลอง กระดานสาธิต (demonstration boards) ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เช่นกระดานชอล์ก กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าสำลี ฯลฯ และกิจกรรม(activites)
2. สื่อเครื่องฉาย (projected and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ คือ เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี เข้าไว้ในเครื่องด้วยเพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
3. สื่อเสียง (audio materials and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน เช่น เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง
สื่อแบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้
“กรวยประสบการณ์” (Cone of Experiencess) โดยแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้
1) ประสบการณ์ตรง โดยการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากของจริง เช่น การจับต้อง และการเห็น เป็นต้น
2) ประสบการณ์รอง เป็นการเรียนโดยให้ผู้เรียนเรียนจากสิ่งทีใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด ซึ่งอาจเป็นการจำลองก็ได้
3) ประสบการณ์นาฏกรรมหรือการแสดง เป็นการแสดงบทบาทสมมติหรือการแสดงละคร เนื่องจากข้อจำกัดด้วยยุคสมัยเวลา และสถานที่ เช่น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวที่เป็นนามธรรม เป็นต้น 4) การสาธิต เป็นการแสดงหรือการทำเพื่อประกอบคำอธิบายเพื่อให้เห็นลำดับขั้นตอนของการกระทำนั้น
5) การศึกษานอกสถานที่ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ต่าง ๆ ภายนอกสถานที่เรียน อาจเป็นการเยี่ยมชมสถานที่ การสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ เป็นต้น
6) นิทรรศการ เป็นการจัดแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้สาระประโยชน์แก่ผู้ชม โดยการนำประสบการณ์หลายอย่างผสมผสานกันมากที่สุด
7) โทรทัศน์ โดยใช้ทั้งโทรทัศน์การศึกษาและโทรทัศน์การสอนเพื่อให้ข้อมูลความรู้แก่ผู้เรียนหรือผู้ชมที่อยู่ในห้องเรียนหรืออยู่ทางบ้าน
8)ภาพยนตร์ เป็นภาพที่บันทึกเรื่องราวลงบนฟิล์มเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ทั้งภาพและเสียงโดยใช้ประสาทตาและหู
9) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง อาจเป็นทั้งในรูปของแผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง วิทยุ รูปภาพ สไลด์ ข้อมูลที่อยู่ในขั้นนี้จะให้ประสบการณ์แก่ผู้เรียนที่ถึงแม้จะอ่านหนังสือไม่ออกแต่ก็จะสามารถเข้าใจเนื้อหาได้
10)ทัศนสัญลักษณ์ เช่น แผนที่ แผนภูมิ หรือเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของต่าง ๆ
11) วจนสัญลักษณ์ ได้แก่ตัวหนังสือในภาษาเขียน และเสียงพูดของคนในภาษาพูด การใช้กรวยประสบการณ์ของเดลจะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอยู่ในเหตการณ์หรือการกระทำจริงเพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงเกิดขึ้นก่อน แล้วจึงเรียนรู้โดยการเฝ้าสังเกตุในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นขั้นต่อไปของการได้รับประสบ-การณ์รอง ต่อจากนั้นจึงเป็นการเรียนรู้ด้วยการรับประสบการณ์โดยผ่านสื่อต่างๆ และท้ายที่สุดเป็นการให้ผู้เรียนเรียนจากสัญลักษณ์ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
คุณค่าของสื่อการสอน
สื่อการสอนนับว่าเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน หรือเป็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น สื่อการสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้
สื่อกับผู้เรียน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้
- เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
- การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยากต่อความเข้าใจ และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
- สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
- สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล
สื่อการสอนนับว่าเป็นสื่อสำคัญในการเรียนรู้เนื่องจากเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดเนื้อหาจากผู้สอนไปยังผู้เรียน หรือเป็นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนั้น สื่อการสอนจึงนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งกับผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้
สื่อกับผู้เรียน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้เรียนดังนี้
- เป็นสิ่งช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ง่ายขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และช่วยให้เกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้นได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
- สื่อจะช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้กับผู้เรียนทำให้เกิดความรู้สนุกสนานและไม่รู้สึกเบื่อหน่ายการเรียน
- การใช้สื่อจะทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจตรงกันหากเป็นเรื่องของนามธรรมและยากต่อความเข้าใจ และช่วยให้เกิดประสบการณ์ร่วมกันในวิชาที่เรียน
- สื่อช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ทำให้เกิดมนุษยสัมพันธ์อันดีในระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและกับผู้สอนด้วย
- สร้างเสริมลักษณะที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์จากการใช้สื่อเหล่านี้
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยการจัดให้มีการใช้สื่อในการศึกษารายบุคคล
สื่อกับผู้สอน
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
- การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
- ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้ และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
- เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
สื่อการเรียนการสอนมีความสำคัญและคุณค่าต่อผู้สอนดังนี้
- การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆประกอบการเรียนการสอน เป็นการช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น ทำให้ผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการสอนมากกว่าวิธีการที่เคยใช้การบรรยายแต่เพียงอย่างเดียว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองให้เพิ่มขึ้นด้วย
- ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอนในด้านการเตรียมเนื้อหาเพราะสามารถนำสื่อมาใช้ซ้ำได้ และบางอาจให้นักศึกษาเนื้อหาจากสื่อได้เอง
- เป็นการกระตุ้นให้ผู้สอนตื่นตัวอยู่เสมอในการเตรียมและผลผลิตวัสดุและเรื่องราวใหม่ๆเพื่อใช้เป็นสื่อการสอน ตลอดจนคิดค้นเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้การเรียนรู้น่าสนใจยิ่งขึ้น
หลักการเลือกสื่อการสอน
การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา คือ
- สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
- เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
- เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
- สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
- ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
- มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
การเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาใช้ประกอบการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง โดยผู้สอนจะต้องตั้งวัตถุประสงค์นั้นเป็นตัวชี้นำในการเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังมีหลักการอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา คือ
- สื่อนั้นต้องสัมพันธ์กับเนื้อหาบทเรียนและจุดมุ่งหมายที่จะสอน
- เลือกสื่อที่มีเนื้อหาถูกต้อง ทันสมัย น่าสนใจ และเป็นสื่อที่ให้ผลต่อการเรียนการสอนมากที่สุด ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหานั้นได้ดีเป็นลำดับขั้นตอน
- เป็นสื่อที่เหมาะสมกับวัย ระดับชั้น ความรู้ และประสบการณ์ของผู้เรียน
- สื่อนั้นควรสะดวกในการใช้ มีวิธีใช้ไม่ซับซ้อนยุ่งยากจนเกินไป
- ต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ มีเทคนิคการผลิตที่ดี มีความชัดเจนและเป็นจริง
- มีราคาไม่แพงจนเกินไป หรือถ้าจะผลิตเองควรคุ้มกับเวลาและการลงทุน
Social Network
Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น
o Hi5
o Friendster
o My Space
o Face Book
o Twitter
o Bebo
o Tagged
เว็บ SNS (Social Network Site) เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อการตอบสนองความต้องการในการติดต่อธุรกิจหรือหาเพื่อนบนโลกไซเบอร์ทั้งสิ้น
Social Network คือ สังคมออนไลน์ที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเตอร์เน็ทได้ง่ายๆ เราสามารถที่จะสร้างพื้นที่ส่วนตัวขึ้นมา เพื่อแนะนำตัวเองได้ เช่น
o Hi5
o Friendster
o My Space
o Face Book
o Twitter
o Bebo
o Tagged
เว็บ SNS (Social Network Site) เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อการตอบสนองความต้องการในการติดต่อธุรกิจหรือหาเพื่อนบนโลกไซเบอร์ทั้งสิ้น
Hi5
hi5 หรือที่วัยรุ่นไทยอ่านว่า ไฮไฟว์ เป็นเว็บไซต์แบบที่เรียกว่าSocial Network ซึ่งhi5 เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2002 โดยคุณ Ramu Yalamanchi ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO ของ hi5 นั่นเอง Hi5 เป็นระบบอินเตอร์เน็ตออนไลน์ที่มีการเชิญเพื่อนจากรายชื่อเพื่อนในอีเมลล์ต่างๆสมัครเข้ามาเป็นเพื่อนของเรา โดยระบบจะทำการแอดเมล์เพื่อนให้ รูปแบบทั่วไปภายใน Hi5 จะมีทั้งการโชว์รูปภาพ เพื่อฟรีเซ็นต์ตัวเอง เราได้แสดงความเป็นตัวตนของเราอย่างภาคภูมิใจ ด้วยการสร้างและตกแต่ง Hi5 ของเราด้วย ของแต่ง Hi5 ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ , Skin ,Wallpaper , ดุ๊กดิ๊ก , Cursor , ภาพเคลื่อนไหว และของแต่ง Hi5 อื่นๆ อีกมากมายมีพื้นที่ให้เขียนเรื่องราวส่วนตัวด้วย
hi5 หรือที่วัยรุ่นไทยอ่านว่า ไฮไฟว์ เป็นเว็บไซต์แบบที่เรียกว่าSocial Network ซึ่งhi5 เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด แห่งหนึ่งของโลก ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2002 โดยคุณ Ramu Yalamanchi ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CEO ของ hi5 นั่นเอง Hi5 เป็นระบบอินเตอร์เน็ตออนไลน์ที่มีการเชิญเพื่อนจากรายชื่อเพื่อนในอีเมลล์ต่างๆสมัครเข้ามาเป็นเพื่อนของเรา โดยระบบจะทำการแอดเมล์เพื่อนให้ รูปแบบทั่วไปภายใน Hi5 จะมีทั้งการโชว์รูปภาพ เพื่อฟรีเซ็นต์ตัวเอง เราได้แสดงความเป็นตัวตนของเราอย่างภาคภูมิใจ ด้วยการสร้างและตกแต่ง Hi5 ของเราด้วย ของแต่ง Hi5 ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ , Skin ,Wallpaper , ดุ๊กดิ๊ก , Cursor , ภาพเคลื่อนไหว และของแต่ง Hi5 อื่นๆ อีกมากมายมีพื้นที่ให้เขียนเรื่องราวส่วนตัวด้วย
Friendster
Friendster ได้ก้าวขึ้นมาสู่หัวแถวของ Social Network ในประมาณเดือนเมษายน ปี 2004 ก่อนจะถูกไล่แซงโดย My Space ในเรื่องของผู้เข้าชมและจากการจัดอันดับของ Nielsen//NetRatings Frienster ได้รับการยอมรับว่าเป็นคู่แข่งของทั้ง Windows Live Spaces, Yahoo! 360, และ Facebook ในเวลาต่อมาก็ยังมี Hi5 ก้าวเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญอีกด้วย
Friendster ได้ก้าวขึ้นมาสู่หัวแถวของ Social Network ในประมาณเดือนเมษายน ปี 2004 ก่อนจะถูกไล่แซงโดย My Space ในเรื่องของผู้เข้าชมและจากการจัดอันดับของ Nielsen//NetRatings Frienster ได้รับการยอมรับว่าเป็นคู่แข่งของทั้ง Windows Live Spaces, Yahoo! 360, และ Facebook ในเวลาต่อมาก็ยังมี Hi5 ก้าวเข้ามาเป็นคู่แข่งสำคัญอีกด้วย
My Space
My Space คือ เว็บบล็อก ที่ทาง msn ให้ผู้ที่ใช้ msn ได้เข้าไปใช้บริการกัน ก็มีคำถามต่ออีกว่า เจ้า web blog คืออะไร สำหรับ เจ้า Web Blog ผมอยากให้เรานึกง่ายๆ ว่ามัน คล้าย Dairy แต่ไม่ใช่นะครับ ย้ำ ว่า บล็อก ไม่ใช่ Dairy โดยบล็อกจะมีความหลากหลายมากกว่า เพราะในบล็อก ผู้ที่เป็นเจ้าของเนื้อที่นั้น จะเป็นผู้ที่ดูแลเนื้อหา ว่า จะให้เป็นแนวไหน หรือว่าจะเป็นเนื้อเรื่องอะไร ส่วนหลายคนเอามาเป็น Dairy นั้น ผิดไหม คงไม่ผิด คือมันแล้วแต่ว่า ผู้ดูแลจะเป็นอย่างไร
Face Book
Face Book
facebook เป็นซอฟต์แวร์เครือข่ายลักษณะเดียวกับ myspace ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สร้างหน้าเว็บของตัวเอง และใส่ข้อมูลต่างๆ ตามต้องการ (profile page) โดยระบบสามารถค้นหาผู้ใช้ที่มีความสนใจตรงกัน เช่นชอบฟังดนตรีประเภทเดียวกัน มีหนังในดวงใจเรื่องเดียวกัน ผู้ใช้สามารถเพิ่มหรือลบลิงก์ไปสู่ผู้ใช้คนอื่น เพิ่มเป็นเครือข่ายทางสังคมอินเตอร์เน็ตในหน้าเว็บของ facebook มีส่วนประกอบหลักคือส่วนของข้อมูลผู้ใช้ ส่วนแสดงจำนวนเพื่อนในเครือข่าย กิจกรรมที่สนใจ และพื้นที่สาธารณะ (ที่เรียกว่า wall) ซึ่งผู้เข้าเยี่ยมชมสามารถเขียนข้อความไว้ได้ ข้อความบน wall นี้ผู้ใช้สามารถกำหนดให้เพื่อนในเครือข่ายเห็นหรือเปิดให้ทุกคนเห็นก็ได้ นอกจากนี้ facebook อนุญาตให้ผู้ใช้งานอัพโหลดรูป และให้ผู้ใช้ตั้งกลุ่มทางสังคม หรือแฟนคลับต่างๆ ได้ด้วยระบบของ facebook บวกกับกลุ่มเป้าหมาย จุดประเด็นทางสังคมมาก
Bebo Bebo
เป็นเครือข่ายทางสังคมแห่งยุคอนาคตที่ทำให้นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อกับเพื่อน หาเพื่อนที่ขาดการติดต่อกันไปนาน และพบปะกับผู้คนใหม่ๆ หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนก.ค.ปีที่แล้ว ในเวลาแค่ 7 เดือน เครือข่ายทางสังคมแห่งนี้ก็มีสมาชิกจดทะเบียนมากกว่า 22 ล้านรายที่เข้ามาดูหน้าเว็บเพจถึงกว่า 700 ครั้งต่อ Bebo เป็น Social Network ที่ถูกออกแบบมาดี โทนสีของเว็บไซต์ดูแล้วสบายตา ใช้งานง่าย มีการจัดระบบติดต่อผู้ใช้ได้ดี คนที่ไม่มีพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้แบบไม่ติดขัด รูปร่างหน้าตาของบล็อกดูไม่รกหูรกตา รองรับการปรับแต่งได้หลากหลาย
ทวิตเตอร์ คือเว็บไซต์ที่ให้บริการ blog สั้น หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกกันว่า Micro-Blog ซึ่งสามารถให้ผู้ใช้ส่งข้อความของตนเอง ให้เพื่อน ๆ ที่ติดตาม twitter ของเราอยู่อ่านได้ และเราเองก็สามารถอ่านข้อความของเพื่อน หรือคนที่เราติดตามเค้าอยู่ได้ ซึ่ง twitter ก็ถือได้ว่าเป็นเว็บไซต์ประเภท social Media ด้วยเช่นกัน ในรูปแบบของ twitter นี้ ที่เรียกว่าเป็น blog สั้นก็เพราะว่า twitter ให้เขียนข้อความได้ครั้งละไม่เกิน 140 ตัวอักษร ซึ่งข้อความนี้เมื่อเขียนแล้วจะไปแสดงอยู่ในหน้า profile ของผู้เขียนนั่นเอง และจะทำการส่งข้อความนี้ไปยังสมาชิกที่ติดตามผู้เขียนคนนั้นอยู่ (follower) โดยอัตโนมัติ
m-Learning
การเรียนรู้แบบเคลื่อนที่ (mobile learning) เป็นการจัดการเรียนการสอน หรือการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านคอร์สแวร์ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (wireless telecommunication network) และเทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา โดยผ่านสัญญาณแบบไร้สายที่มีบริการตามจุดต่างๆของมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย (Access Point) ผู้เรียนและผู้สอนใช้อุปกรณ์ประเภทเคลื่อนที่ได้ที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (Wireless Lan) ได้แก่ Notebook Computer, Portable computer, PDA/PAD Phone, Tablet PC, Cell Phones /Cellular Phone ในการดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ด้วยผู้เรียนเอง
ส่วนประกอบข่ายงานของ m-Learning ประกอบด้วย
1. ข้อมูลคำอธิบายต่าง ๆ เกี่ยวกับบทเรียน (context data) ได้แก่ คำอธิบายบทเรียน คู่มือการใช้งาน การช่วยเหลือ และข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้
2. เครื่องมือสนับสนุนที่ชาญฉลาด (intelligent support engine) ได้แก่ เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย รวมถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารและจัดการบทเรียน (mLMS) เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียน นำเสนอ จัดการ ติดต่อสื่อสาร ติดตามผล และประเมินผล รวมถึงอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอนผ่านจอภาพของโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ส่วนนี้จะทำงานสัมพันธ์กับ task model และ user model ที่ได้มีการออกแบบไว้ก่อนเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะนำเสนอให้กับผู้เรียน
3. หน่วยเก็บเนื้อหาบทเรียน (content repository) ได้แก่ ส่วนของเนื้อหาบทเรียน รวมทั้งแบบฝึกหัดแบบทดสอบ และส่วนข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียน4. ส่วนของการติดต่อกับผู้เรียน (interface) ได้แก่ ส่วนของการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนผ่านแป้นพิมพ์และจอภาพของเครื่อ
1. ข้อมูลคำอธิบายต่าง ๆ เกี่ยวกับบทเรียน (context data) ได้แก่ คำอธิบายบทเรียน คู่มือการใช้งาน การช่วยเหลือ และข้อมูลที่จำเป็นอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้
2. เครื่องมือสนับสนุนที่ชาญฉลาด (intelligent support engine) ได้แก่ เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย รวมถึงซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บริหารและจัดการบทเรียน (mLMS) เริ่มตั้งแต่การลงทะเบียน นำเสนอ จัดการ ติดต่อสื่อสาร ติดตามผล และประเมินผล รวมถึงอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ เพื่อใช้สนับสนุนการเรียนการสอนผ่านจอภาพของโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์แบบพกพา ส่วนนี้จะทำงานสัมพันธ์กับ task model และ user model ที่ได้มีการออกแบบไว้ก่อนเกี่ยวกับรูปแบบการดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจหรือกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะนำเสนอให้กับผู้เรียน
3. หน่วยเก็บเนื้อหาบทเรียน (content repository) ได้แก่ ส่วนของเนื้อหาบทเรียน รวมทั้งแบบฝึกหัดแบบทดสอบ และส่วนข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นองค์ความรู้เพื่อถ่ายทอดไปยังผู้เรียน4. ส่วนของการติดต่อกับผู้เรียน (interface) ได้แก่ ส่วนของการปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนผ่านแป้นพิมพ์และจอภาพของเครื่อ
U-learning
Ubiquitous ( ยูบิควิตัส ) เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง Mark Weiser (มาร์ค ไวเซอร์) แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม Ubiquitous Computing (ยูบิควิตัสคอมพิวติง) ไว้ว่า หมายถึงกระบวนการบูรณาการคอมพิวเตอร์เข้ากับ Physical World อย่างไร้ของเขต การพัฒนาสิ่งเหล่านี้ทำให้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
Ubiquitous ( ยูบิควิตัส ) เป็นภาษาลาติน มีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่ง หรือมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง Mark Weiser (มาร์ค ไวเซอร์) แห่งศูนย์วิจัย Palo Alto ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม Ubiquitous Computing (ยูบิควิตัสคอมพิวติง) ไว้ว่า หมายถึงกระบวนการบูรณาการคอมพิวเตอร์เข้ากับ Physical World อย่างไร้ของเขต การพัฒนาสิ่งเหล่านี้ทำให้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตประจำวัน
วิธีดำเนินการ (การนำไปใช้)
นำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน E-learning การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน เพราะข้อมูลสารสนเทศได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน โดยเรียกความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ว่า เป็นแบบ Many to one relationship (Weiser, 1993) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบสามัญและเกี่ยวพันธ์กับ Ubiquitous Computing
ข้อดี U-learning
1. Adaptive learning เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว ประสิทธิภาพสูงและเข้าใจได้มากกว่า
2. Ubiquitous learning Environment (ULE) คือ การเรียนจะเกิดขึ้นรอบตัวเราโดยไม่รู้ตัว มาจากคำว่า Ubiquitous E-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต
3. การเชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ
4. การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
5. การบูรณาการ U-learning นั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อประสบ การณ์การเรียนแบบกลางแจ้ง ได้แก่ ในสวน ศูนย์กลางของเมือง เป็นต้น และการเรียนในร่ม ได้แก่ ในพิพิธภัณฑ์ บ้าน เป็นต้น
ข้อจำกัด Ubiquitous Learning
1. ระบบเชื่อมโยงเครือข่าย เพื่อให้ครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous ต้องใช้การลงทุนสูงมาก 2. จำนวนผู้ใช้บริการ และผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าว ยังน้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน
Podcasting หรือ Podcast
ขั้นตอนของสื่อชนิดหนึ่งบนระบบอินเตอร์เน็ตที่ยินยอมให้ผู้ใช้ทั่วไปทำการสมัครเพื่อรับ feed news คำว่า Podcasting หลายๆ คนคิดว่าอาจจะเป็นคำมาจากคำว่า Broadcasting กับ iPod แต่ตามข้อกำหนดแล้ว มันเป็นการเข้าใจผิด แต่เป็นความบังเอิญ อันสอดคล่องพอดี หรือประจวบเหมาะ กับ iPod ของ Apple นั้นเอง ซึ่ง Steve Jobs ก็ใช้โอกาสนี้ โฆษณา feature ใหม่เป็น Broadcasting + iPod = Podcasting นั้นเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้น ตั้งแต่ที่ได้ยินมานับตั้งแต่ Podcasting เกิดขึ้นมาบนโลกมา ระบบนี้สามารถใช้ได้กับ iPod หรือพวก portable music player อื่นๆ และรวมไปถึงเครื่อง computer ได้อยู่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริง แล้วนั้น ตั้งแต่ กันยายน ปี 2004 นั้น ได้มีการบัญญัติคำว่า POD ซึ่งเป็นคำย่อมาจาก “Personal On-Demand” หรือ "อุปสงค์ส่วนบุคคล" นั้นเอง เมื่อรวมกับ Broadcasting ก็กลายเป็น POD casting นั้นเอง ซึ่ง Broadcasting เป็นการนำสื่อต่างๆ มาอยู่ในรูปของภาพ และเสียง ต่างๆ มากมาย ไม่ขึ้นกับ formatของไฟล์ หรือ type ของไฟล์แต่อย่างใด นำมาเผยแพร่ให้บุคคลภายนอก (The public in general) ฟังโดยที่ไม่จำเป็นเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ และเป็นเทคโนโลยีในการถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียง ผ่านสื่อต่างๆ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่สามารถโยกย้ายข้อมูลขนาดมหึมาของภาพและเสียงจากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่งระหว่างเครือข่ายชนิดต่างๆ
สื่อ e-media
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วย วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็ก เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง (optical disk) บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูล
ที่นี้ เราลองมาพิจารณาถึง ข้อดี-ข้อเสีย ของสื่อประเภทนี้ว่า เป็นอย่างไรบ้างเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการนำมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนและการฝึกอบรมและจะได้นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบและสร้างสื่อประเภทนี้ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ข้อดี-ข้อจำกัด
ข้อดี
1. ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกหนทุกแห่ง จากห้องเรียนปกติไปยังบ้าน และที่ทำงาน ทำให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง
2. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนรอบโลกในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมมือกันได้มีโอกาสเรียนรู้พร้อมกัน
3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการ และความสามารถของตนอง
4. การสื่อสารโดยใช้ อีเมล์ กระดานข่าว การพูดคุยสด ฯลฯ ทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวาขึ้นกว่าเดิม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยเหลือกันในการเรียน
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้เกิดการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งที่จริงแล้ว การเรียนแบบร่วมมือสามารถขยายขอบเขตจากห้องเรียนหนึ่งไปยังห้องเรียนอื่น ๆ ได้โดยการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต
6. การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามสะดวกโดยไม่ต้องรียงลำดับกัน
7. ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย
8. การเรียนการสอนมีให้เลือกทั้งแบบประสานเวลา คือเรียน และพบกับผู้สอนเพื่อปรึกษา หรือถามปัญหาได้ในเวลาเดียวกัน (Synchronous) และแบบต่างเวลา (Asynchronous) คือเรียนจากเนื้อหาในเว็บ และติดต่อผู้สอนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
9. ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา การสอนบนเว็บตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมทั้งมีทักษะ ในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-Cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. การสอนบนเว็บเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ของสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ ภาพ 3 มิติ ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงได้
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media) หมายถึง สื่อที่บันทึกสารสนเทศด้วย วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์อาจอยู่ในรูปของ สื่อบันทึกข้อมูลประเภทสารแม่เหล็ก เช่น แผ่นจานแม่เหล็กชนิดอ่อน (floppy disk) และสื่อประเภทจานแสง (optical disk) บันทึกอักขระแบบดิจิตอลไม่สามารถอ่านได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์บันทึกและอ่านข้อมูล
ที่นี้ เราลองมาพิจารณาถึง ข้อดี-ข้อเสีย ของสื่อประเภทนี้ว่า เป็นอย่างไรบ้างเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการนำมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนและการฝึกอบรมและจะได้นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบและสร้างสื่อประเภทนี้ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ข้อดี-ข้อจำกัด
ข้อดี
1. ขยายขอบเขตของการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกหนทุกแห่ง จากห้องเรียนปกติไปยังบ้าน และที่ทำงาน ทำให้ไม่เสียเวลาในการเดินทาง
2. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ผู้เรียนรอบโลกในสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ร่วมมือกันได้มีโอกาสเรียนรู้พร้อมกัน
3. ผู้เรียนควบคุมการเรียนตามความต้องการ และความสามารถของตนอง
4. การสื่อสารโดยใช้ อีเมล์ กระดานข่าว การพูดคุยสด ฯลฯ ทำให้การเรียนรู้มีชีวิตชีวาขึ้นกว่าเดิม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนช่วยเหลือกันในการเรียน
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักการสื่อสารในสังคม และก่อให้เกิดการเรียนแบบร่วมมือ ซึ่งที่จริงแล้ว การเรียนแบบร่วมมือสามารถขยายขอบเขตจากห้องเรียนหนึ่งไปยังห้องเรียนอื่น ๆ ได้โดยการเชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ต
6. การเรียนด้วยสื่อหลายมิติทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาได้ตามสะดวกโดยไม่ต้องรียงลำดับกัน
7. ข้อมูลของหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาสามารถหาได้โดยง่าย
8. การเรียนการสอนมีให้เลือกทั้งแบบประสานเวลา คือเรียน และพบกับผู้สอนเพื่อปรึกษา หรือถามปัญหาได้ในเวลาเดียวกัน (Synchronous) และแบบต่างเวลา (Asynchronous) คือเรียนจากเนื้อหาในเว็บ และติดต่อผู้สอนทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
9. ส่งเสริมแนวคิดในเรื่องของการเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากเว็บเป็นแหล่งความรู้ที่เปิดกว้างให้ผู้ที่ต้องการศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สามารถเข้ามาค้นคว้าหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง และตลอดเวลา การสอนบนเว็บตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีความใฝ่รู้ รวมทั้งมีทักษะ ในการตรวจสอบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Meta-Cognitive Skills) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
10. การสอนบนเว็บเป็นวิธีที่ดีเยี่ยมในการให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ของสถานการณ์จำลอง ทั้งนี้เพราะสามารถใช้ข้อความ ภาพนิ่ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว วิดีโอ ภาพ 3 มิติ ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงได้
ข้อจำกัด
1. การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการ อื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวน และขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
2. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
3. เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
4. ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
1. การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นยังมีน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบโปรแกรมเพื่อใช้ในวงการ อื่น ๆ ทำให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีจำนวน และขอบเขตจำกัดที่จะนำมาใช้เรียนในวิชาต่างๆ
2. การที่จะให้ผู้สอนเป็นผู้ออกแบบโปรแกรมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเองนั้น นับว่าเป็นงานที่ต้องอาศัยเวลา สติปัญญา และความสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เป็นการเพิ่มภาระของผู้สอนให้มีมากยิ่งขึ้น
3. เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์เป็นการวางโปรแกรมบทเรียนไว้ล่วงหน้า จึงมีลำดับขั้นตอนในการสอนทุกอย่างตามที่วางไว้ ดังนั้น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงไม่สามารถช่วยในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนได้
4. ผู้เรียนบางคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ อาจจะไม่ชอบโปรแกรมที่เรียงตามขั้นตอน ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้ได้
Asynchronous Learning – สถานการณ์การเรียนรู้ใดๆที่ปฏิสัมพันธ์ถูกหน่วงเวลาออกไป ยังประโยชน์ให้ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมการเรียนได้ตามเวลาว่างของพวกเขา และไม่จำเป็นต้องอยู่ ณ สถานที่เดียวกับครูผู้สอน อาจอยู่ในรูปแบบของcorrespondence cou rse หรือ eLearning ปฏิสัมพันธ์การโต้ตอบกันอาจใช้เทคโนโลยีได้หลากหลายรูปแบบ เช่น กระดานสนทนา
Chat — การสื่อสารด้วยตัวอักษรระหว่างสมาชิกของบริการ online ข้อความจะถูกส่งถึงกันระหว่างสมาชิกในแบบ real-time เสมือนเป็นการสนทนา โดยใช้การพิมพ์ด้วยถ้อยคำสั้นๆ
cLearning หรือ c-Learning — Classroom learning การเรียนในห้องเรียน เคยเป็นเพียง “learning” แต่ขณะนี้ เราจำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง cLearning กับ eLearning
Computer-Assisted Instruction (CAI) — การสอนโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อ มักถูกใช้เพื่ออ้างอิงถึงการฝึกหัดและฝึกฝน สอนพิเศษ หรือกิจกรรมการจำลองสถานการณ์ที่นำเสนอโดยตัวมันเอง หรือนำเสนอเป็นส่วนเสริมให้กับการสอนแบบปกติที่สอนโดยครู
Computer-Based Training (CBT) – การฝึกอบรมหรือการสอนโดยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นผู้สร้างแรงจูงใจและ feedback แทนที่จะเป็นครูผู้สอนจริงๆ CBT อาจอยู่ในรูปของ CD-ROM, LAN หรืออินเทอร์เน็ต การสร้าง กระทำโดยกลุ่มบุคคลรวมถึงนักออกแบบการสอน (instructional designers) และมักจะมีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูง
Correspondence Course - หลักสูตรทางไกลเรียนโดยใช้จดหมายสำหรับการโต้ตอบและเพื่อส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ชั้นเรียนทางไปรษณีย์แบบนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงระหว่างปี 1890’s
Discussion Boards - สถานที่ประชุมบนอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต ที่ซึ่งผู้ใช้สามารถทิ้งข้อความไว้ให้ผู้ใช้คนอื่นๆได้อ่าน
Distance Education – กระบวนการอย่างเป็นทางการของ distance learning คำนี้มีนัยตามประเพณีหมายถึงระดับการศึกษาชั้นสูง คืออุดมศึกษา
Distance Learning – การเรียนซึ่งผู้สอนและผู้เรียนไม่ได้อยู่ณ สถานที่เดียวกัน อาจเป็น synchronous หรือ asynchronous อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ อาจประกอบด้วย correspondence วิดีโอ หรือการถ่ายทอดผ่านดาวเทียม หรือ eLearning มักใช้กับการศึกษาระดับอุดมศึกษา
eLearning หรือ e-Learning – การเรียนใดๆที่ใช้ประโยชน์จากเครือข่าย (LAN, WAN หรืออินเทอร์เน็ต) เพื่อการนำส่ง (delivery) การมีปฏิสัมพันธ์ (interaction) หรือเพื่อความสะดวก นี่หมายรวมถึง distributed learning, distance learning (ที่ไม่ใช่ correspondence) CBT ที่ส่งผ่านเครือข่าย และ WBT อาจอยู่ในรูปของ synchronous, asynchronous, instructor-led หรือ computer-based หรือการผสมผสานกัน
Informal/Formal Learning – Formal learning คือชั้นเรียน การสัมมนา หลักสูตรการเรียนรู้ด้วยตนเอง – ทุกคนรู้จักมันในฐานะของ “การศึกษาเล่าเรียน” Informal learning คือนั่งอยู่บนเครื่องทำน้ำเย็น ที่เกมหมากรุก การขอความช่วยเหลือจากคนในห้องข้างๆ การร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหา การจ้องมองดูผู้เชี่ยวชาญ หรือการแบ่งปันคอมพิวเตอร์ในการเรียน eLearning
Internet-Based Training – การส่งเนื้อหาทางการศึกษาผ่านเว็บบราวเซอร์ บนอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเอ็กซทราเน็ต Internet-based training จัดเตรียมการเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลการเรียนที่อยู่ภายนอกหลักสูตร เช่น เอกสารอ้างอิง, email, discussion boards และ discussion groups มันสร้างข้อได้เปรียบของ computer-based training ในขณะที่ยังคงไว้ซึ่งข้อได้เปรียบของ instructor-led training คำ Internet-based training นี้ มีความหมายเหมือนกันกับ Web-based training และ online training
Knowledge Management – การจับ การรวบรวม และการจัดเก็บความรู้และประสบการณ์ของพนักงานแต่ละคนและกลุ่มพนักงานภายในองค์กร แล้วทำให้มันพร้อมสำหรับคนอื่นๆในองค์กร ที่จะนำไปใช้ได้ สารสนเทศดังกล่าวจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลพิเศษเรียกว่า knowledge base
Synchronous Learning – การเรียนรู้ใดๆที่ปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นใน real-time ในเวลาเดียวกัน นี่ทำให้ผู้เรียนต้องเข้าเรียนตามตารางเวลาที่กำหนด อาจดำเนินในห้องเรียนแบบเก่า หรือส่งผ่านทางเทคโนโลยี distributed หรือ eLearning
Web-Based Training (WBT) - การฝึกอบรมซึ่งถูกส่งผ่านไปบนเครือข่าย (LAN, WAN หรืออินเทอร์เน็ต) อาจเป็น Instructor-led หรือ Computer-Based อย่างใดอย่างหนึ่ง คล้ายคลึงมากกับ eLearning แต่มีนัยไปข้างว่า เป็นการเรียนรู้ในระดับผู้ประกอบอาชีพแล้ว หรือทำงานบริษัท
Webucation — การศึกษาผ่าน World Wide Web บางครั้งเรียกว่า e-education คำใหม่ๆส่วนมากที่ขึ้นต้นด้วย Web- มักมีอายุสั้น แต่คำนี้ดูเป็นข้อยกเว้น หมายถึงหลากหลายวิธีในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อสนับสนุนการเรียนทางไกล โดยเฉพาะการนำการศึกษามาสู่กลุ่มคนที่ขาดโอกาส อย่างไรก็ดี มันยังรวมถึงระบบการบริหารโรงเรียน ซอฟแวร์ทางการศึกษา และวิธีต่อสายให้กับห้องเรียน
แหล่งที่มา
http://www.knowledgeanywhere.com/
http://nora.exteen.com/20090709/twitter
http://www.meesara.com/?p=7
http://keng.com/2008/04/19/what-is-hi5/
http://learners.in.th/blog/tikka/321582
http://e-school.in.th/sw2/mod/resource/view.php?id=176
http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/index.php?option=com_content
http://www.knowledgeanywhere.com/
http://nora.exteen.com/20090709/twitter
http://www.meesara.com/?p=7
http://keng.com/2008/04/19/what-is-hi5/
http://learners.in.th/blog/tikka/321582
http://e-school.in.th/sw2/mod/resource/view.php?id=176
http://home.dsd.go.th/techno/trainingsystem/index.php?option=com_content